ปรัชญา

“สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและภูมิภาค”

ปณิธาน

“มาตรฐานการศึกษา พัฒนาวิชาการ สืบสานภูมิปัญญา”

วิสัยทัศน์

ศูนย์มาตรฐานการศึกษา มุ่งสู่การพัฒนามาตรฐานตัวชี้วัด ความเป็นเลิศ  การประกันคุณภาพการศึกษา เน้นระบบการประเมินตนเองที่ทันสมัย

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์ ให้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการประเมินการบริหารและจัดการเรียนการสอนส่งเสริมสร้าง นวัตกรรมการเรียนการสอนของคณาจารย์ที่ทันสมัย สู่กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาบัณฑิตอย่างมีคุณภาพ
  3. รวบรวมและเผยแพร่การจัดทำรายงานการประเมินตนเองประจำปี รองรับมาตรฐานและ การประเมินภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

นโยบาย

  1. ให้มีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ โดยนำนโยบายการประกันคุณภาพ มาสู่การปฏิบัติให้ชัดเจน จัดทำเกณฑ์มาตรฐานภาระงานของอาจารย์ ใช้ระบบการบริหารโปรแกรมวิชา มีการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอน มีการประเมินอาจารย์ผู้สอน ประเมินคุณภาพของ นักศึกษา มีกระบวนการพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการสูงขึ้น ส่งเสริมและจัดหาทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
  2. ให้มีกลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันในระดับต่าง ๆ อาทิเช่น ระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะและโปรแกรมสาขาวิชา/สำนัก/สถาบัน/กอง/ศูนย์วิชาการ ตามความเหมาะสม สร้างความเข้าใจและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการ ศึกษา มีการทำเอกสารคู่มือประกันคุณภาพและนำไปสู่การปฏิบัติ ให้มีการวิจัยสถาบันในเรื่องความพึงพอใจและสภาพการจัดการด้านการบริการ ด้านการเรียนการสอน และด้านกิจการนักศึกษา แล้วนำผลการวิจัยไปสู่การพัฒนาการบริหารและการจัดการ แสวงหาอาคารและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้มีภูมิทัศน์ร่มรื่นสวยงาม
  3. เร่งดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบัน โดยระยะแรกเริ่มให้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต การบริหารจัดการ นอกจากนั้นขยายการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อตอบสนอง ความต้องการของชุมชน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งทรัพยากรการเรียน เช่น ระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ศูนย์ภาษา ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
  4. เร่งรัดความร่วมมือระหว่างสถาบันกับบุคคล องค์กรและหน่วยงานภายนอกสถาบันในกิจกรรมประกันคุณภาพการศึกษา
  5. มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและผลจากกิจกรรมการประกันคุณภาพ โดยจัดเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในหลายรูปแบบ
  6. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสถาบัน โดยนำเอามาตรการด้านคุณธรรม ความโปร่งใส และการรู้จักประมาณตน มาใช้ให้เกิดผล มอบหมายงานและอำนาจหน้าที่ให้หน่วยปฏิบัติระดับคณะ รับผิดชอบตัดสินใจมากขึ้น เตรียมการรองรับระบบบริหารสถาบันอุดมศึกษาแนวหน้า
  7. เร่งรัดนำผลจาการประเมินมาปรับปรุงคุณภาพบัณฑิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุขและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
  8. เร่งรัดคณะและหน่วยงานเทียบเท่าให้มีความพร้อมสำหรับการตรวจสอบแบบประเมินจากหน่วยงานภายนอก
  9. ให้ถือว่างานประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ ที่ต้องวางแผนการดำเนินงาน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานในทุกระดับ ผ่านระบบการประเมินผลและการรายงาน

เป้าหมาย

  1. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพทางการศึกษาภายใน ที่สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถนำมาใช้ กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อ ประสิทธิผล
  2. มีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ สามารถตรวจสอบได้
  3. มีการควบคุมองค์ประกอบที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา
  4. มีการตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในทุกหน่วยงาน
  5. มีการนำเอกสารรายงานผลการประเมินแต่ละปีมาใช้ในการพัฒนาสถาบัน
  6. มีการประเมินการดำเนินงานจากองค์กรภายนอกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  7. ได้บัณฑิตที่จบการศึกษาที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับปัจจุบันและอนาคต
  8. ภายในปี พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จะต้องอยู่ในลำดับ 1-5 ของมหาวิทยาลัย กลุ่มผลิตบัณฑิตและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และพร้อมรับการประเมินคุณภาพจากทุก ๆ หน่วยงาน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของคณะวิชา หน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษา ในภาพรวมตามระบบคุณภาพและกลไกที่สถาบันนั้นๆ กำหนดขึ้น โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ในทุกองค์ประกอบคุณภาพ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐาน
  2. เพื่อให้คณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาทราบสถานภาพของตนเอง อันจะนำไปสู่เป้าหมาย (targets) และเป้าประสงค์ (goals) ที่ตั้งไว้และเป็นสากล
  3. เพื่อให้คณะวิชาหรือหน่วยงานเทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาทราบจุดแข็ง จุดที่ควรปรับปรุงตลอดจนได้รับข้อเสนอแนะในการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริม จุดแข็ง และพัฒนาจุดที่ควรปรับปรุงของสถาบันอย่างต่อเนื่อง
  4. เพื่อให้ข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนเสีย ทำให้มั่นใจว่าสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ
  5. เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษามีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการอุดมศึกษาในแนวทางที่เหมาะสม